ชาดีมีประโยชน์ แต่ก็มีโทษด้วย มาดูกัน
แม้ว่าการดื่มชาจะมีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าดื่มชาอย่างผิดหลักการแล้ว ก็สามารถให้โทษได้หลายประการเช่นเดียวกัน ซึ่งมีข้อห้ามที่สำคัญ ๆ ที่ควรรำลึกไว้เสมอในการดื่มชา คือ
1. ไม่ควรดื่มชาขณะกินยา ในที่นี้หมายรวมถึง ยาฝรั่ง ยาจีน และยาไทย ทั้งนี้ เพราะสารต่าง ๆ ในน้ำชาอาจไปทำปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ต่อยาที่กินเข้าไป ขั้นเบา คือ ทำให้คุณสมบัติของยาที่กินเจือจาง หรือเสื่อมสภาพลง ขั้นร้ายแรง คือ ยาบางตัวเมื่อทำปฏิกิริยากับสารต่าง ๆ ในน้ำชาอาจกลายเป็นสารพิษได้ หากต้องการดื่มชาในยามป่วยไข้ ควรเลือกเวลาก่อนหรือหลังรับประทานยา 2 ชั่วโมง และในระหว่างต้องกินยาอยู่นั้น ให้ดื่มแต่น้ำชาบาง ๆ ห้ามดื่มน้ำชาที่ชงอย่างเข้มข้น
2. ไม่ควรดื่มชาก่อนนอน โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่นอนหลับยาก หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ เพราะน้ำชาจะไปกระตุ้นร่างกายให้นอนหลับยากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรดื่มชาเข้มข้น หรือน้ำชาใส่น้ำแข็ง หรือน้ำชาแช่เย็น ทั้งนี้ เพราะน้ำชาเย็น ๆ จะไปกระตุ้นลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องตื่นกลางดึกเพื่อเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์ คนชรา และเด็กเล็ก ซึ่งมักหลับยากอยู่แล้วเป็นปกติวิสัย ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชาในช่วงก่อนนอน แต่หากว่าดื่มชาจนเป็นนิสัยและไม่ส่งผลต่อการนอนหลับแล้วก็เป็นข้อยกเว้น แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรดื่มชาเข้ม ๆ ในช่วงก่อนนอนมากนัก โดยเฉพาะในสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และคนชรา
3. ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัด เพราะอาจถูกลวกจนทำให้เกิดอันตรายในช่องปาก ลำคอ ลำไส้ และอาจเกิดผลข้างเคียงบางอย่างขึ้นได้ เช่น ทำให้เนื้อบางส่วนในช่องปากตาย หรือเป็นต้นเหตุให้เกิดเซลล์มะเร็ง เป็นต้น จะยิ่งไม่คุ้ม
4. ไม่ควรดื่มน้ำชาที่ชงค้างคืน หรือชงไว้นานหลายชั่วโมง แล้ว
ทั้งนี้ เพราะน้ำชาอาจบูดได้ และน้ำชาที่ชงทิ้งค้างไว้นาน ๆ สารต่าง ๆ ในน้ำชาก็จะทำปฏิกิริยากัน บ้างเสื่อมคุณภาพ บ้างแปรสภาพเป็นสารพิษ บางคนชอบเอาน้ำชาใส่ขวด หรือใส่กระป๋องไปแช่ตู้เย็นไว้ดื่มหลาย ๆ วัน วิธีนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ หากต้องการดื่มชาเย็น ๆ ให้ชงชาใหม่แล้วใส่น้ำแข็งจะดีกว่า
5. ไม่ควรดื่มชาเพื่อแก้ง่วง หรือใช้น้ำชากระตุ้นให้ตาสว่างมากเกินไป เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ และยังทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมากขึ้นทันทีที่สารกระตุ้นหมดฤทธิ์ หากปฏิบัติเช่นนี้บ่อย ๆ ร่างกายจะทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว
นอกจากนั้นสำหรับบางคนน้ำชาไม่ใช่เครื่องดื่มที่เหมาะสม เพราะการดื่มน้ำชาอาจก่อให้เกิดโทษสำหรับบุคคลนั้นได้ คือ
1. ผู้ที่ไตทำงานบกพร่อง หรือมีอาการไตวาย ไม่ควรดื่มน้ำชามาก ยิ่งในกรณีไตวายนั้น ยิ่งต้องปฏิบัติตนเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ว่าจะดื่มน้ำประเภทใดก็ตาม เพราะร่างกายของผู้มีอาการไตวายไม่สามารถขับน้ำออกทางปัสสาวะได้อย่างปกติ ในกรณีที่ประสิทธิภาพการทำงานของไตบกพร่องเพียงเล็กน้อยและเป็นการชั่วคราว การดื่มน้ำชามากก็จะทำให้ปัสสาวะบ่อย หากดื่มน้ำชาปริมาณมากในเวลากลางคืน ก็จะทำให้นอนหลับไม่สนิท เพราะต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ
2. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการที่ทางการแพทย์จีนเรียกว่า “กระเพาะเย็น” ซึ่งมักจะมีอาการอึดอัด และอาเจียนออกเป็นน้ำใส ๆ กรณีนี้ห้ามดื่มน้ำชาเวลาที่ท้องว่างตอนเช้า เพราะจะมีผลต่อสมรรถภาพของกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซับวิตามิน B2 และธาตุเหล็กได้เต็มที่ ซึ่งจะส่งผลสืบเนื่องทำให้เกิดอาการปวดกระเพาะอาหาร และทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น จึงแนะนำว่าหากอยากดื่มชาในตอนเช้า อย่างน้อยควรหาอาหารรับประทานก่อนเพื่อไม่ให้ท้องว่างจึงจะดี
3. เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ไม่ควรดื่มน้ำชา เพราะว่ากรดแทนนิคในน้ำชาเมื่อรวมตัวกับธาตุเหล็กในกระเพาะอาหารและลำไส้แล้วจะกลายเป็นสารที่ไม่สามารถละลายได้ ทำให้เด็กเล็กไม่เติบโต มีอาการขาดธาตุเหล็ก และเป็นโรคโลหิตจางได้
4. สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิด ไม่ควรดื่มน้ำชาเช่นกัน โดยเฉพาะก่อนและหลังการรับประทานยาคุมกำเนิด 4 ชั่วโมง เพราะกรดแทนนิคในน้ำชาจะทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลง ทั้งน้ำชายังมีผลทำให้สารต่าง ๆ ในยาคุมกำเนิดละลายตัวยาก และถูกดูดซึมได้น้อยลง
5. สตรีระหว่างมีประจำเดือน สตรีระยะตั้งครรภ์ และสตรีระยะให้นมบุตร ไม่ควรดื่มน้ำชา โดยเฉพาะน้ำชาเข้มข้น เพราะทารกที่ดูดนมแม่ซึ่งดื่มน้ำชาเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง จะได้รับผลเช่นเดียวกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบที่ดื่มชา สารต่าง ๆ ในน้ำชาจะผ่านไปทางน้ำนมของแม่ ทำให้ทารกขาดธาตุเหล็กและเป็นโรคโลหิตจางได้ นอกจากนี้ น้ำชายังทำให้ความสามารถในการขับน้ำนมของแม่ลดลง กระทั่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
6. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคหัวใจ ไม่ควรดื่มน้ำชาเข้มข้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป หากความดันโลหิตขึ้นสูงมาก หรือหัวใจถูกกระตุ้นมากเกินขีด จะเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างรวดเร็วฉับพลันเลยทีเดียว
7. ผู้ที่มีไข้สูงไม่ควรดื่มน้ำชา เพราะว่าด่างในน้ำชาจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น จึงยิ่งทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นไปอีก กรดแทนนิคในน้ำชายังส่งผลให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาได้น้อยกว่าปกติ ดังนั้น เวลามีไข้สูงแทนที่น้ำชาร้อน ๆ ที่ดื่มเข้าไปจะช่วยขับเหงื่อออกมา เพื่อทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง กลับกลายเป็นว่ายิ่งทำให้ระบบขับเหงื่อของร่างกายทำงานบกพร่อง
Cr :: http://www.icontea.com/
1. ไม่ควรดื่มชาขณะกินยา ในที่นี้หมายรวมถึง ยาฝรั่ง ยาจีน และยาไทย ทั้งนี้ เพราะสารต่าง ๆ ในน้ำชาอาจไปทำปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ต่อยาที่กินเข้าไป ขั้นเบา คือ ทำให้คุณสมบัติของยาที่กินเจือจาง หรือเสื่อมสภาพลง ขั้นร้ายแรง คือ ยาบางตัวเมื่อทำปฏิกิริยากับสารต่าง ๆ ในน้ำชาอาจกลายเป็นสารพิษได้ หากต้องการดื่มชาในยามป่วยไข้ ควรเลือกเวลาก่อนหรือหลังรับประทานยา 2 ชั่วโมง และในระหว่างต้องกินยาอยู่นั้น ให้ดื่มแต่น้ำชาบาง ๆ ห้ามดื่มน้ำชาที่ชงอย่างเข้มข้น
2. ไม่ควรดื่มชาก่อนนอน โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่นอนหลับยาก หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ เพราะน้ำชาจะไปกระตุ้นร่างกายให้นอนหลับยากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรดื่มชาเข้มข้น หรือน้ำชาใส่น้ำแข็ง หรือน้ำชาแช่เย็น ทั้งนี้ เพราะน้ำชาเย็น ๆ จะไปกระตุ้นลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องตื่นกลางดึกเพื่อเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์ คนชรา และเด็กเล็ก ซึ่งมักหลับยากอยู่แล้วเป็นปกติวิสัย ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชาในช่วงก่อนนอน แต่หากว่าดื่มชาจนเป็นนิสัยและไม่ส่งผลต่อการนอนหลับแล้วก็เป็นข้อยกเว้น แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรดื่มชาเข้ม ๆ ในช่วงก่อนนอนมากนัก โดยเฉพาะในสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และคนชรา
3. ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัด เพราะอาจถูกลวกจนทำให้เกิดอันตรายในช่องปาก ลำคอ ลำไส้ และอาจเกิดผลข้างเคียงบางอย่างขึ้นได้ เช่น ทำให้เนื้อบางส่วนในช่องปากตาย หรือเป็นต้นเหตุให้เกิดเซลล์มะเร็ง เป็นต้น จะยิ่งไม่คุ้ม
4. ไม่ควรดื่มน้ำชาที่ชงค้างคืน หรือชงไว้นานหลายชั่วโมง แล้ว
ทั้งนี้ เพราะน้ำชาอาจบูดได้ และน้ำชาที่ชงทิ้งค้างไว้นาน ๆ สารต่าง ๆ ในน้ำชาก็จะทำปฏิกิริยากัน บ้างเสื่อมคุณภาพ บ้างแปรสภาพเป็นสารพิษ บางคนชอบเอาน้ำชาใส่ขวด หรือใส่กระป๋องไปแช่ตู้เย็นไว้ดื่มหลาย ๆ วัน วิธีนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ หากต้องการดื่มชาเย็น ๆ ให้ชงชาใหม่แล้วใส่น้ำแข็งจะดีกว่า
5. ไม่ควรดื่มชาเพื่อแก้ง่วง หรือใช้น้ำชากระตุ้นให้ตาสว่างมากเกินไป เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ และยังทำให้ร่างกายอ่อนเพลียมากขึ้นทันทีที่สารกระตุ้นหมดฤทธิ์ หากปฏิบัติเช่นนี้บ่อย ๆ ร่างกายจะทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว
นอกจากนั้นสำหรับบางคนน้ำชาไม่ใช่เครื่องดื่มที่เหมาะสม เพราะการดื่มน้ำชาอาจก่อให้เกิดโทษสำหรับบุคคลนั้นได้ คือ
1. ผู้ที่ไตทำงานบกพร่อง หรือมีอาการไตวาย ไม่ควรดื่มน้ำชามาก ยิ่งในกรณีไตวายนั้น ยิ่งต้องปฏิบัติตนเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ว่าจะดื่มน้ำประเภทใดก็ตาม เพราะร่างกายของผู้มีอาการไตวายไม่สามารถขับน้ำออกทางปัสสาวะได้อย่างปกติ ในกรณีที่ประสิทธิภาพการทำงานของไตบกพร่องเพียงเล็กน้อยและเป็นการชั่วคราว การดื่มน้ำชามากก็จะทำให้ปัสสาวะบ่อย หากดื่มน้ำชาปริมาณมากในเวลากลางคืน ก็จะทำให้นอนหลับไม่สนิท เพราะต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ
2. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการที่ทางการแพทย์จีนเรียกว่า “กระเพาะเย็น” ซึ่งมักจะมีอาการอึดอัด และอาเจียนออกเป็นน้ำใส ๆ กรณีนี้ห้ามดื่มน้ำชาเวลาที่ท้องว่างตอนเช้า เพราะจะมีผลต่อสมรรถภาพของกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซับวิตามิน B2 และธาตุเหล็กได้เต็มที่ ซึ่งจะส่งผลสืบเนื่องทำให้เกิดอาการปวดกระเพาะอาหาร และทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น จึงแนะนำว่าหากอยากดื่มชาในตอนเช้า อย่างน้อยควรหาอาหารรับประทานก่อนเพื่อไม่ให้ท้องว่างจึงจะดี
3. เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ไม่ควรดื่มน้ำชา เพราะว่ากรดแทนนิคในน้ำชาเมื่อรวมตัวกับธาตุเหล็กในกระเพาะอาหารและลำไส้แล้วจะกลายเป็นสารที่ไม่สามารถละลายได้ ทำให้เด็กเล็กไม่เติบโต มีอาการขาดธาตุเหล็ก และเป็นโรคโลหิตจางได้
4. สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิด ไม่ควรดื่มน้ำชาเช่นกัน โดยเฉพาะก่อนและหลังการรับประทานยาคุมกำเนิด 4 ชั่วโมง เพราะกรดแทนนิคในน้ำชาจะทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลง ทั้งน้ำชายังมีผลทำให้สารต่าง ๆ ในยาคุมกำเนิดละลายตัวยาก และถูกดูดซึมได้น้อยลง
5. สตรีระหว่างมีประจำเดือน สตรีระยะตั้งครรภ์ และสตรีระยะให้นมบุตร ไม่ควรดื่มน้ำชา โดยเฉพาะน้ำชาเข้มข้น เพราะทารกที่ดูดนมแม่ซึ่งดื่มน้ำชาเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง จะได้รับผลเช่นเดียวกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบที่ดื่มชา สารต่าง ๆ ในน้ำชาจะผ่านไปทางน้ำนมของแม่ ทำให้ทารกขาดธาตุเหล็กและเป็นโรคโลหิตจางได้ นอกจากนี้ น้ำชายังทำให้ความสามารถในการขับน้ำนมของแม่ลดลง กระทั่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
6. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคหัวใจ ไม่ควรดื่มน้ำชาเข้มข้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป หากความดันโลหิตขึ้นสูงมาก หรือหัวใจถูกกระตุ้นมากเกินขีด จะเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างรวดเร็วฉับพลันเลยทีเดียว
7. ผู้ที่มีไข้สูงไม่ควรดื่มน้ำชา เพราะว่าด่างในน้ำชาจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น จึงยิ่งทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นไปอีก กรดแทนนิคในน้ำชายังส่งผลให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาได้น้อยกว่าปกติ ดังนั้น เวลามีไข้สูงแทนที่น้ำชาร้อน ๆ ที่ดื่มเข้าไปจะช่วยขับเหงื่อออกมา เพื่อทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง กลับกลายเป็นว่ายิ่งทำให้ระบบขับเหงื่อของร่างกายทำงานบกพร่อง
Cr :: http://www.icontea.com/
ชาดีมีประโยชน์
Reviewed by @monrudee
on
8:45 PM
Rating: