น้ำสับปะรด (Ananas Comosus)

น้ำสับปะรด  (Ananas Comosus)

ภาพจาก :: http://www.munzzz.com/

       น้ำสับปะรด (Ananas Comosus) เป็นพืชในวงศ์ Bromeliaceae พืชตระกูลนี้มีราว 2,000 ชนิด สับประรดเป็นผลไม้ที่นิยมไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์
        ประโยชน์ของน้ำสับปะรดที่ทุกคนเป็นที่รู้จักกันคือ น้ำย่อยจากธรรมชาติที่เรียกว่า "บรอมีเลน" ช่วยย่อยอาหารที่มีสภาวะทั้งที่เป็นกรดและเป็นด่างจึงเหมาะไม่ว่าจะเป็นในกระเพาะอาหารซึ่งเป็นกรด หรือในลำใส้เล็กซึ่งเป็นด่าง และถ้าได้มะละกอสุกชิ้นพอดีๆลงไปปั่นเข้าด้วยกัน จะได้เครื่องดื่มช่วยย่อยเพิ่มเป็นสองแรง เพราะในมะระกอสุกจะมีน้ำย่อยจากธรมชาติที่เรียกว่า "พาเพน" ช่วยเพิ่มการย่อยอาหารให้มีพลังย่อยมากขึ้น เหมาะสำหรับเป็นเครื่งดื่มหลังอาหารที่หนักเนื้อสัตว์ แก้แน่นท้อง ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย ต่อไปนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้า สับปะรด กัน

      ชื่อเรียกสับปะรดของแต่ละประเทศ
  • ชาวสเปน เรียกว่า Pina
  • โปรตุเกส เรียกว่า Ananas
  • ชาวดัตช์และชาวฝรั่งเศส เรียกว่า  Ananas
  • แถบอินโดนีเซีย มาเลเซีย เรียกว่า  Nanas
  • กัวเตมาลา เรียกว่า Pine 
      ชื่อเรียกสับปะรดของแต่ละภาคในประเทศไทย
  • ภาคกลาง เรียกว่า "สับปะรด"
  • ภาคอีสาน เรียกว่า "บักนัด"
  • ภาคเหนือ เรียกว่า "มะนัด, มะขะนัด, บ่อนัด"
  • ภาคใต้ เรียกว่า "ย่านัด, ย่านนัด, ขนุนทอง,มะลิ"
      ถิ่นกำเนิดของสับปะรดอยู่แถบแม่น้ำปารานา-ปารากวัย และทางตอนใต้ของบราชิล ชาวอินเดียน-แดง นำมาปลูกเป็นพืชไร่และผยแพร่สายพันธุ์ไปยังอเมริกากลางถึงเม็กซิโก ต่อมาจึงไปสู่ยุโรป

     ประโยชน์ทางยา

      น้ำสับปะรดดื่มเป็นยาขับปัสสาวะและกระตุ้นการคลอด ใช้อมแก้เจ็บคอ คออักเสบ ชาวพื้นเมืองใช้ลูกสับปะรดอ่อน ซึ่งเป็นพิษกินเป็นยาขับกระดูก ทำให้แท้ง ขับพยาธิ และใช้เป็นยารกษากามโรคได้
      สับปะรดอ่อนกินไม่ได้ เป็นพิษ กัดและระคายเคืองคอหอยหากรับประทานเข้าไป และยังทำให้ท้องเสียรุ้นแรง การกินสับปะรดมากๆติดต่อกันนานๆ อาจทำให้เกิดก้อนนิ่วในทางเดินอาหารได้
      รากของสับปะรดที่นำไปตากแดดให้แห้งแล้ว สามารถนำมาบดเป็นผงแก้อาการบวมน้ำ เปลือสับปะรดตำพอกแก้กระดูกหัก เปลือกต้มผสมยารักษาริดสีดวงทวาร ใบสับปะรดคั้นำมาเป็นยาถ่าย ขับระดูและขับพยาธิ
      เนื้อสับปะรดสุกฉ่ำน้ำ ถูกนำมาใช้เป็นยาประจำบ้านเพื่อใช้รักษาอาการอึดอัดแน่นเฟ้อ มีลมในกระเพาะอาหาร อาการไม่สบายท้อง บรรเทาอาการท้องผูก สับปะรดเปรี้ยวจะช่วยกระตุ้นอาการอยากอาหารและช่วยย่อย



      เอนไซม์จากน้ำสับปะรดชื่อ บรอมีเลน (Bromelains) หรืออีกชื่อคือ บรอมีลิน (ฺBromelin) ใช้ประโยชน์ในวงการแพทย์มามากกว่า 50 ปี สับปะรดยังมีเอนไซม์อื่นๆ อีกอย่างน้อย 3 ชนิด ที่มีฤทธิ์ย่อยโปรตีนได้เช่นกัน แต่นังไม่ได้รับการศึกษาค้นคว้ามากเท่ากับบรอมีเลน 
      บรอมีเลนไม่ใช่สารตัวเดียวโดดๆ แต่มันเป็นกลุ่มเอนไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีนหลายตัว พบเฉพาะในน้ำสับปะรดและต้นสับปะรด ประโยชน์จากบรอมีเลนมีหลายด้านด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤทธิ์บรรเทาอาการบวมและอักเสบ ในยุโรปมีการใช้บรอมีเลน เพื่อช่วยให้แผลผ่าตัดทุเลาเร็วขึ้น รวมทั้งลดอาการอักเสบ บวมแผล หรืออาการจากการเล่นกีฬา มีการทดลองใช้บรรเทาอาการอักเสบริดสีดวงทวาร อาการเกี่ยวกับเส้นเลือดดำ โรคกระดูกและข้ออักเสบ รูมาทอยด์ เก๊าต์ และอาการปวดประจำเดือน การวิจัยที่น่าเชื่อถือทำในผู้ป่วยหลอดเลือดทำอักเสบที่ขาจำนวน 72 คน หลังจากได้รับสารบรอมีเลนเสริมการรักษา พบว่าผลการรักษาดีขึ้น
      บรอมีเลนเป็นที่รู้จักกันดีในแง่ความสามารถลดอาการอักเสบและอาการบวม แต่มีการค้นพบคุณประโยชน์เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ โดยประยุกต์จากฤทธิ์ต้านอักเสบ และเมื่อบรอมีเลนดูดซึมเข้ากระแสเลือดอาจช่วยลดการเกาะกันเป็นลิ่มเลือดของเกล็ดเลือดในหลอดเลือดแดง จึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้หลายชนิด ต่อมามีการค้นพบฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และช่วยเพิ่มการดูดซึมยากลุ่มยาปฏิชีวนะ จึงมีการนำบรอมีเลนไปช่วยเสริมการรักษาโรคด้วยยาปฏิชีวนะ แม้บรอมีเลนจะถูกจัดเป็นยาที่เสริมการรักษาในระบบแพทย์ทางเลือก แต่แพทย์แผนปัจจุบันจำรวนมากก็สนใจสั่งจ่ายบรอมีเลน และมีการศึกษาหาคุณประโยชน์ในเรื่องการละลายลิ่มเลือดบริเวณแผลช้ำเขียว เลือดคั่งจากเส้นเลือดแตก และมีประโยน์ในผู้ป่วยหวัดเนื่องจากฤทธิ์ลดน้ำมูก ช่วยให้ร่างกายขับเสมหะออกมาได้ดีขึ้น และช่วยบรรเทาอาการหอบหืดโดยช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ลดการอักเสบและขับเสมหะ และยังมีฤทธิ์อื่นๆ อีกมากมายทีอยู่ในระหว่างดารศึกษา เช่นบรรเทาอาการเส้นเลือดขอดที่ขา โรคภูมิแพ้ ฯลฯ
      ประโยชน์ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นมีอยู่แล้วอยู่ใน น้ำสับปะรด 

ข้อมูลจากหนังสือ :: พลังมหัศจรรย์ ในน้ำผักผลไม้ เภสัชกรสรจักร ศิริบริรักษ์
น้ำสับปะรด (Ananas Comosus) น้ำสับปะรด (Ananas Comosus) Reviewed by @monrudee on 11:06 AM Rating: 5
Break
Powered by Blogger.